QCC กิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมากกว่าที่คุณคิด

หากว่ากันด้วยยเรื่องของการ “การทำงาน” ในแต่ละองค์กรนั้น ต่างมีวิธีการสร้างความร่วมมือระหว่างพนักงงานที่แตกต่างกันออกไปตามสไตล์และวัฒนธรรมของที่เป็นรากฐานขององค์กรกันออกไป แต่ก็จะมีเครื่องมือและวิธีการทำงานที่จะสามารถช่วยให้องค์กรปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกมากมายหลายวิธี บทความนี้ เราจะพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับ “QCC กิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมากกว่าที่คุณคิด” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปดูกันดีกว่าครับ

กิจกรรม QCC คืออะไร?

QCC (Quality Control Cycle) คือ การพัฒนาการทำงาน หรือสร้างนวัตกรรมโดยอาศัย”กลุ่มควบคุมคุณภาพ” โดยการจัดตั้งกลุ่มย่อยระดมความคิดอย่างมีเหตุมีผล มีการใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ในการแก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อพัฒนาตนเอง หลักการของ QCC จะเน้นการแก้ไขปัญหาของกระบวนการทำงานโดยกลุ่มย่อย

วิธีการทำ QCC ที่ดีเป็นอย่างไร?

หลักการทำของ QCC คือ การที่เราจะต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมงาน และภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาโดยใช้หลักการของวัฏจักรเดมิ่ง (Deming Cycle) ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ

1. การวางแผน (Plan : P)

2. การปฏิบัติ (Do : D)

3. การตรวจสอบ (Check : C)

4. การแก้ไขปรับปรุง (Action : A)

โดยแบ่งเป็นขั้นตอนง่ายๆ โดย จัดตั้งกลุ่ม โดยมีสมาชิก 5-10 คน พร้อมเลือกหัวหน้าและที่ปรึกษา => ตั้งชื่อกลุ่มและคำขวัญ => คิดหัวข้อโครงการ จากปัญหาหน้างาน => ตั้งชื่อโครงการโดยใช้หลักการ HOW, WHAT, WHERE, WHEN => ระบุหน้าที่ปัจจุบันของแต่ละสมาชิกกลุ่ม => เพื่อแสดงให้เห็นว่าโครงการนี้จัดทำเป็นทีมและเกี่ยวข้องกับโครงการ

ทำความรู้จักกับ QCC 8 Step

STEP 1: ค้นหาปัญหาและมูลเหตุจูงใจ คือ การค้นหาหัวข้อปัญหาที่เกิดภายในจุดทำงานที่เรารับผิดชอบ เพื่อเลือกปัญหามาแก้ไขต่อไปใน Step ถัดไป

STEP 2: สำรวจสภาพปัญหาและกำหนดเป้าหมาย คือ การสำรวจสภาพปัญหาที่ได้ทำการเลือกมาว่ามีจุดไหนหรือส่วนใดที่เป็นจุดสังเกตที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาทอดไข่เจียวไหม้ จึงต้องค้นหาว่าไข่เจียวไหม้ได้จากอย่างไร จากอะไรบ้าง?

STEP 3: วิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าและการพิสูจน์สาเหตุ คือ การวิเคราห์สภาพปัญหาเพื่อหาสาเหตุที่เป็นรากฐานของปัญหานั้นๆ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขต่อไป เช่น ไข่เจียวไหม้ เราก็ต้องไปดูว่า เตาไฟแรงเกินไปมั้ย? ทอดนานเกินไปหรือปล่าวนั้นเองครับ

STEP 4: กำหนดและออกแบบทดลองพิสูจน์หรือหามาตรการแก้ไขปัญหา คือ การกำหนดแนวทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาหลังจากพบจุดที่น่าสนใจและสามารถแก้ไขได้ของปัญหานั้นๆ

STEP 5: ดำเนินการ พิสูจน์ หรือ แก้ไขปัญหา คือ ขั้นตอนการดำเนินการแก้ไขปัญหานั้นๆ ด้วยมาตรการที่เราได้ออกแบบหรือเตรียมเอาไว้

STEP 6: ตรวจสอบผลการแก้ไข คือ การตรวจสอบสภาพปัญหาหลังได้รับการแก้ไขว่า สามารถบรรลุผลหรือเป้าที่เราตั้งไว้หรือไม่นั้นเอง

STEP 7: สร้างเป็นมาตรฐาน คือ สิ่งที่ต้องกำหนดวิธีการเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน เพื่อป้องกันความผิดพลาดต่อไปในอนาคต

STEP 8: สรุปผลโครงการ คือ ส่วนของการสรุปการทำงานและการแก้ไขปัญหาทั้งหมดนั้นเองครับ

ประโยชน์ของการทำ QCC ภายในองค์กร

– ช่วยเพิ่มโอกาสในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

– เกิดการประสานความคิด ร่วมมือร่วมใจ ในการช่วยกันคิดแก้ไขปัญหาของสมาชิกในกลุ่ม

             นอกจากนี้จะช่วยให้สมาชิกมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี เข้าใจซึ่งและกันและช่วยสร้างจิตสำนึกให้เกิดความรับผิดชอบต่อ หน้าที่ของแต่ละคนอย่างชัดเจน

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “QCC กิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมากกว่าที่คุณคิด” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในวันนี้ครับ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกันนะครับ

Previous Post
Next Post