ทำความรู้จักกับการทำ QCC

แนวทางใน “การทำงาน” ในแต่ละองค์กรนั้น ต่างมีวิธีการสร้างความร่วมมือระหว่างพนักงงานที่แตกต่างกันออกไปตามสไตล์และวัฒนธรรมของที่เป็นรากฐานขององค์กรกันออกไป แต่ก็จะมีเครื่องมือและวิธีการทำงานที่จะสามารถช่วยให้องค์กรปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกมากมายหลายวิธีเลยหล่ะครับ วันนี้ราเราจะพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับ “QCC” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปดูกันดีกว่าครับ

กิจกรรม QCC คืออะไร?

QCC (Quality Control Cycle) คือ การพัฒนาการทำงาน หรือสร้างนวัตกรรมโดยอาศัย”กลุ่มควบคุมคุณภาพ” โดยการจัดตั้งกลุ่มย่อยระดมความคิดอย่างมีเหตุมีผล มีการใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ในการแก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อพัฒนาตนเอง หลักการของ QCC จะเน้นการแก้ไขปัญหาของกระบวนการทำงานโดยกลุ่มย่อย โดยวิธีการทำ QCC นั้นจะใช้หลักการที่จะให้เราเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมงาน และภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาโดยใช้หลักการของวัฏจักรเดมิ่ง (Deming Cycle) ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ

1. การวางแผน (Plan : P)
2. การปฏิบัติ (Do : D)
3. การตรวจสอบ (Check : C)
4. การแก้ไขปรับปรุง (Action : A)

โดยแบ่งเป็นขั้นตอนง่ายๆ โดย จัดตั้งกลุ่ม โดยมีสมาชิก 5-10 คน พร้อมเลือกหัวหน้าและที่ปรึกษา => ตั้งชื่อกลุ่มและคำขวัญ => คิดหัวข้อโครงการ จากปัญหาหน้างาน => ตั้งชื่อโครงการโดยใช้หลักการ HOW, WHAT, WHERE, WHEN => ระบุหน้าที่ปัจจุบันของแต่ละสมาชิกกลุ่ม => เพื่อแสดงให้เห็นว่าโครงการนี้จัดทำเป็นทีมและเกี่ยวข้องกับโครงการ

QCC 8 Step

STEP 1: ค้นหาปัญหาและมูลเหตุจูงใจ คือ การค้นหาหัวข้อปัญหาที่เกิดภายในจุดทำงานที่เรารับผิดชอบ เพื่อเลือกปัญหามาแก้ไขต่อไปใน Step ถัดไป

STEP 2: สำรวจสภาพปัญหาและกำหนดเป้าหมาย คือ การสำรวจสภาพปัญหาที่ได้ทำการเลือกมาว่ามีจุดไหนหรือส่วนใดที่เป็นจุดสังเกตที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาทอดไข่เจียวไหม้ จึงต้องค้นหาว่าไข่เจียวไหม้ได้จากอย่างไร จากอะไรบ้าง?

STEP 3: วิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าและการพิสูจน์สาเหตุ คือ การวิเคราห์สภาพปัญหาเพื่อหาสาเหตุที่เป็นรากฐานของปัญหานั้นๆ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขต่อไป เช่น ไข่เจียวไหม้ เราก็ต้องไปดูว่า เตาไฟแรงเกินไปมั้ย? ทอดนานเกินไปหรือปล่าวนั้นเองครับ

STEP 4: กำหนดและออกแบบทดลองพิสูจน์หรือหามาตรการแก้ไขปัญหา คือ การกำหนดแนวทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาหลังจากพบจุดที่น่าสนใจและสามารถแก้ไขได้ของปัญหานั้นๆ

STEP 5: ดำเนินการ พิสูจน์ หรือ แก้ไขปัญหา คือ ขั้นตอนการดำเนินการแก้ไขปัญหานั้นๆ ด้วยมาตรการที่เราได้ออกแบบหรือเตรียมเอาไว้

STEP 6: ตรวจสอบผลการแก้ไข คือ การตรวจสอบสภาพปัญหาหลังได้รับการแก้ไขว่า สามารถบรรลุผลหรือเป้าที่เราตั้งไว้หรือไม่นั้นเอง

STEP 7: สร้างเป็นมาตรฐาน คือ สิ่งที่ต้องกำหนดวิธีการเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน เพื่อป้องกันความผิดพลาดต่อไปในอนาคต

STEP 8: สรุปผลโครงการ คือ ส่วนของการสรุปการทำงานและการแก้ไขปัญหาทั้งหมดนั้นเองครับ

ประโยชน์ของการทำ QCC

– การทำกิจกรรม QCC จะช่วยเพิ่มโอกาสในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
– มีการพัฒนาความสามารถของพนักงานในองค์กรและเกิดการประสานความคิด ร่วมมือร่วมใจ ในการช่วยกันคิดแก้ไขปัญหาของสมาชิกในกลุ่ม
– เป็นหนึ่งการลดต้นทุนจากการแก้ไขปัญหาต่างๆ ภายในองค์กรไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตก็ดี การลด defect หรือ scrap ของเสียต่างๆ จากการผลิต ก็ล้วนแล้วทำให้บริษัทมีรายได้และศูนย์เสียรายจ่ายน้อยลงครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับการ “ทำความรู้จักกับการทำ QCC” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีและสามารถช่วยพัฒนาทั้งคนและองค์กรได้เป็นอย่างดีเลยหล่ะครับ ต้องลองไปทำกันบ้างแล้ว!!!

Previous Post
Next Post