ประโยชน์ของการใช้ spaghetti diagram พัฒนาการทำงานในองค์กร

หลายๆ ท่านที่อยู่ในวัยทำงานก็คงจะคุ้นชินกับหลักการทำงานหรือเครื่องมือที่จะช่วยจัดสรรความคิดในการทำสิ่งๆ ต่างทั้งแก้ไขและช่วยพัฒนาองค์กร โดยยึดหลักในการลดข้อเสีย (waste) ซึ่งเป็นต้นทุนเสียให้ได้มากที่สุด ซึ่งวันนี้เราจะพาท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านไปพบกับหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้ “spaghetti diagram” กันดูครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปอ่านพร้อมๆ กันเล้ยย!!!

ทำความรู้จักกับ “7 Waste”

7 Waste คือ ความสูญเสีย 7 ประการ ที่เราจะต้องกำจัด ซึ่งจะแบ่งเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

1.ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction) การผลิตสินค้าปริมาณมากเกินความต้องการการใช้งานในขณะนั้น หรือผลิตไว้ล่วงหน้า เป็นเวลานาน มาจากแนวความคิดเดิมที่ว่าแต่ละขั้นตอนจะต้องผลิตงานออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เกิดต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุดในแต่ละครั้งโดยไม่ได้คำนึงถึงว่าจะทำให้มีงานระหว่างทำ (Work in process, WIP) ในกระบวนการเป็นจำนวนมากและทำให้กระบวนการผลิตขาดความยืดหยุ่น

2.ความสูญเสียเนื่องจากการเก็บวัสดุคงคลัง (Inventory) การซื้อวัสดุคราวละมากๆ เพื่อเป็นประกันว่าจะมีวัสดุสำหรับผลิตตลอดเวลา หรือเพื่อให้ได้ส่วนลดจากการสั่งซื้อ จะส่งผลให้วัสดุที่อยู่ในคลังมีปริมาณมากเกินความต้องการใช้งานอยู่เสมอ เป็นภาระในการดูแลและการจัดการนั้นเองครับ

3. ความสูญเสียเนื่องจากการขนส่ง (Transportation) การขนส่งเป็นกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่วัสดุ ดังนั้นจึงต้องควบคุมและลดระยะทางในการขนส่งลงให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

4.ความสูญเสียเนื่องจากการเคลื่อนไหว (Motion) ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ต้องเอื้อมหยิบของที่อยู่ไกล ก้มตัวยกของหนักที่วางอยู่บนพื้น ฯลฯ ทำให้เกิดความล้าต่อร่างกายและทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงานอีกด้วย

5.ความสูญเสียเนื่องจากกระบวนการผลิต (Processing)

เกิดจากกระบวนการผลิตที่มีการทำงานซ้ำๆกันในหลายขั้นตอน ซึ่งไม่มีความจำเป็นเพราะงานเหล่านั้นไม่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์ รวมทั้งงานในกระบวนการผลิตที่ไม่ช่วยให้ตัวผลิตภัณฑ์เกิดความเที่ยงตรงเพิ่มขึ้นหรือคุณภาพดีขึ้น เช่น กระบวนการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์ ดังนั้นกระบวนการนี้ควรรวมอยู่ในกระบวนการผลิตให้พนักงานหน้างานเป็นผู้ตรวจสอบไปพร้อมกับการทำงาน หรือขณะคอยเครื่องจักรทำงาน

6.ความสูญเสียเนื่องจากการรอคอย (Delay)

การรอคอยเกิดจากการที่เครื่องจักร หรือพนักงานหยุดการทำงานเพราะต้องรอคอยบางปัจจัยที่จำเป็นต่อการผลิตเช่น การรอวัตถุดิบ การรอคอยเนื่องจากเครื่องจักรขัดข้อง การรอคอยเนื่องจากกระบวนการผลิตไม่สมดุล การรอคอยเนื่องจากการเปลี่ยนรุ่นการผลิต เป็นต้น

7.ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตของเสีย (Defect) เมื่อของเสียถูกผลิตออกมา ของเสียเหล่านั้นอาจถูกนำไปแก้ไขใหม่ ให้ได้คุณสมบัติตามที่ลูกค้าต้องการ หรือถูกนำไปกำจัดทิ้ง ดังนั้นจึงทำให้มีการสูญเสียเนื่องจากการผลิตของเสียขึ้น

Spaghetti diagram มีหลักการใช้งานอย่างไร?

Spaghetti diagram หรือ แผนภาพสปาเก๊ตตี้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยในการวิเคราะห์ให้เห็นถึงความสูญเสีย 7 ประการ (7 Waste) ในการขนส่ง และเวลารอ และยังแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของกระบวนการท างาน เวลารอคอย และระยะทาง เพื่อให้เกิดประโยชน์โดยคุ้มค่ากับเวลาหรือต้นทุนที่ใช้มากที่สุด

ในการจัดทำผังสปาเก็ตตี้ไดอะแกรม อันดับแรกให้วาดพื้นที่ปฏิบัติงานออกมาก่อน แล้วจึงสืบหาเส้นทางการไหลของวัสดุ คนงาน และสารสนเทศในบริเวณพื้นที่นั้นๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากสามารถวาดภาพตามอัตราส่วนได้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่หากไม่เคยมีแผนผังพื้นที่ปฏิบัติงานก็ให้ลองร่างขึ้นมาก่อน โดยใส่รายละเอียดต่าง ๆ อาทิ ตำแหน่งของเครื่องจักร เครื่องใช้สำนักงาน ผนัง ประตู หน้าต่าง ฯลฯ จำเป็นที่จะวัดระยะทางอย่างรอบคอบเพื่อนำไปคำนวณระยะการเคลื่อนที่ได้ หลังจากนั้นให้วาดเส้นทางการเคลื่อนย้ายของวัสดุ คน และสารสนเทศในพื้นที่ปฏิบัติงานในช่วงเวลานั้น อาจใช้สีของปากกาหรือดินสอที่แตกต่างกันเพื่อแสดงประเภทของการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกัน หรืออาจจะแสดงด้วยเส้นทึบหรือเส้นประประเภทต่างๆ ก็ได้ ให้ติดตามการเคลื่อนที่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ และระดมสมองเพื่อลดเส้นทางที่ไม่จำเป็นและทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้นเองครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ประโยชน์ของการใช้ spaghetti diagram พัฒนาการทำงานในองค์กร” ที่จะมาช่วยให้พัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยก็ว่าได้ครับ หวังว่าจะได้ความรู้เพิ่มกันนะครับ

Previous Post
Next Post