รองเท้าสุขภาพ

อาการของผู้สุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคเท้าแบน หรือภาวะเท้าแบน
อาการของผู้สุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคเท้าแบน หรือภาวะเท้าแบน

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ประสบภาวะเท้าแบนไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาหากไม่ได้มีอาการเจ็บปวดใดๆ ที่เท้า อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกิดภาวะเท้าแบน ควรไปพบแพทย์ หากมีอาการต่อไปนี้  รู้สึกเจ็บฝ่าเท้าแม้จะสวมรองเท้าที่ใส่สบายและรองรับเท้าแล้ว  รู้สึกเจ็บที่อุ้งเท้าและส้นเท้า  ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น  ยืนไม่ค่อยได้ หรือเคลื่อนไหวทรงตัวบนเท้าลำบาก  เจ็บหลังและขา  รองเท้าที่เคยสวมได้ ไม่สามารถสวมได้ และชำรุดเร็วเกินไป  เท้าแบนมากยิ่งขึ้น  ฝ่าเท้าอ่อนแรง รู้สึกชา หรือเกิดอาการฝ่าเท้าแข็ง  สาเหตุของโรคเท้าแบน หรือภาวะเท้าแบน  เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่เกิด หรือกระดูกเท้ายังเจริญไม่เต็มที่เมื่ออยู่ในครรภ์ รวมทั้งได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม  เนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ยึดเชื่อมกัน เช่น โรคหนังยืดผิดปกติ ( Ehlers-Danlos Syndrome) หรือกลุ่มอาการที่ข้อต่อหย่อน (Joint Hypermobility Syndrome)  มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและเส้นประสาท เช่น โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) หรือโรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy)  เนื้อเยื่อที่เชื่อมกันตรงฝ่าเท้ายืดและอักเสบ  เอ็นข้อเท้าที่ยึดขาส่วนล่าง ข้อเท้า และตรงกลางฝ่าเท้าเกิดการอักเสบ (Posterior Tibial Tendon Dysfunction)  กระดูกหักหรือกระดูกงอกผิดที่  ผู้สุ่มเสี่ยงหรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเท้าแบน หรือภาวะเท้าแบน  ผู้ที่บุคคลในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นภาวะเท้าแบน  ผู้ที่เล่นกีฬาหรือต้องทำกิจกรรมหนักๆ อันส่งผลให้เท้าและข้อเท้าเสี่ยงได้รับบาดเจ็บ  ผู้ป่วยโรคอ้วน เนื่องจากเอ็นที่รองรับอุ้งเท้าต้องแบกน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่สามารถทรงตัวได้  ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เนื่องจากโรคนี้จะส่งผลต่อเลือดที่ไหลไปเลี้ยงเอ็นที่เท้า  ผู้ป่วยเบาหวาน…